วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทฤษฎีกรด–เบส


ทฤษฎีกรด–เบส

สีของสารละลายกรดที่ pH ต่างๆ โดยมีน้ำกระหล่ำปลีแดงคั้นเป็นอินดิเคเตอร์



ทฤษฎีกรด-เบส (อังกฤษ: Acid-Base Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วย นิยามหรือคำจำกัดความ (definition) ของสารเคมีที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎีกรด-เบสที่สำคัญ ได้อิงตามคำจำกัดความของนักเคมีที่สำคัญได้แก่ อาร์รีเนียส (Arrhenius) เบรินสเตด-ลาวรี (Brønsted-Lowry acid) และลิวอิส (Lewis) อย่างไรก็ตาม ยังมีนิยามที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสมบัติในการโพลาไลซ์ของโมเลกุล คือ กรด-เบสแบบฮาร์ด-ซอฟต์ (Hard-Soft Acids-Bases: HSAB) และกฎของฟาจาน (Fahjan's Rules) โดยการคำนวณที่เกียวข้องกับปฏิกิริยากรดเบสมักจะเกี่ยวข้องกับหลักการของสมดุลเคมี

นิยามของอาร์รีเนียส



สเวนเต อาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) นักเคมีชาวสวีเดนได้ให้คำจำกัดความของกรดและเบสขึ้น ในปี พ.ศ. 2427 โดยเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือ ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) และไฮดรอกไซด์ไอออน (OH−) เมื่อสารนั้นๆละลายน้ำ โดยระบุว่า "กรด หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวทำให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนหรือไฮโดรเนียมไอออนเพิ่มขึ้น" และ "เบส หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวทำให้ความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ไอออนเพิ่มขึ้น"

สเวนเต อาร์รีเนียส (Svante Arrhenius)
การแตกตัวในน้ำของกรด

HCl (aq) → H+ (aq) + Cl− (aq)
การแตกตัวในน้ำของเบส

NaOH (aq) → Na+ (aq) + OH− (aq)

อย่างไรก็ตาม น้ำบริสุทธิ์ จะมีสมบัติเป็นกลาง เนื่องจากการแตกตัวด้วยตัวเอง (Auto-dissociation) ของน้ำจะอยู่ในสภาวะสมดุลระหว่างความเข้มข้นของ (H3O+) และ (OH−) ซึ่งมีค่าเท่ากัน ดังนั้น การละลายน้ำของสารที่เป็นกรดตามนิยามของอาร์รีเนียสจึงไปทำให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนเพิ่มขึ้น อนึ่ง เนื่องจากไฮโดรเจนไอออน (H+) เป็นไอออนที่มีอนุภาคมูลฐานเป็นโปรตอนเพียงตัวเดียว นักเคมีจึงนิยมเรียกว่า โปรตอน ทั้งนี้ หากโปรตอนละลายอยู่ในน้ำก็อาจจะเขียนแทนได้เป็น (H3O+) ที่เกิดจากการรวมตัวของโปรตอนกับโมเลกุลของน้ำ
สมการการแตกตัวด้วยตัวเองของน้ำ:

H2O(l) + H2O(l) ⇌ H3O+(aq) + OH−(aq)

ปัญหาที่สำคัญของทฤษฎีกรด-เบสของอาร์รีเนียส คือ ไม่สามารถระบุความเป็นกรด-เบสของสารที่ไม่ละลายน้ำได้ และไม่สามารถระบุความเป็นกรดที่ไม่มีไฮโดรเจนได้ เช่น AlCl3หรือเบสที่ไม่มีไฮดรอกไซด์ไอออน เช่น NH3 หรือ N(CH3)3 ได้ จึงมีการนิยามขึ้นใหม่โดยนักเคมีรุ่นหลังอ่านต่อ>>

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โมล(Mole)




โมล(Mole)

เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก การทำปฏิกิริยากันของอะตอมเกิดเป็นโมเลกุลจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนอะตอมของสารตั้งต้นให้มากพอเพื่ออำนวยให้สามารถมองเห็นได้ หรือสามารถชั่งปริมาณได้ นักวิทยาศาสตร์จึงเพิ่มจำนวนอะตอมเป็น 6.02 x และเรียกจำนวน อนุภาคนี้ว่า 1 โมล และเลขจำนวนนี้เรียกว่า เลขอาโวกาโดร (Avogadro' number)



1 โมล(mol) ของสารใด ๆ ก็ตาม มีจำนวนอนุภาค = 6.02 x อนุภาค

จำนวน 6.02 นี้เเรียกว่า เลข อาโวกาโดร


พึ่งสังเกตว่า เลขอาโวกาโดรนี้ ใช้ได้ทั้ง อะตอมและโมเลกุล กล่าวคือ ถ้าเป็นกรณีของอะตอม 1 โมล(อะตอม) จะมีจำนวนอะตอม เท่ากับ 6.02 ถ้าเป็นโมเลกุล 1 โมล(โมเลกุล) ก็จะมีจำนวนโมเลกุล เท่ากับ 6.02 เช่นกัน

ตัวอย่าง 1 ถ้าคาร์บอน 1 อะตอม ทำปฏิกิริยากับคลอรีน 4 อะตอม เกิดคาร์บอนเตตระคลอไรด์ 1 โมเลกุล ดังนี้
                                     C        +    4Cl   ----- CCl4
                                  1  อะตอม    4 อะตอม          1 โมเลกุล
           ก.  เขียนสมการข้างต้นเป็นโมล         
                                      C        +    4Cl   ----- CCl4
                                          1  โมล         4 โมล              1 โมล
            ข.  แปลงจากรูปโมลเป็นจำนวนอนุภาค
                                   C                 +             4Cl                       -----                 CCl4
                     1 6.02    อะตอม     4 6.02    อะตอม                   1 6.02   โมเลกุล
            ค.  บอกจำนวนโมลของธาตุต่าง ๆ ใน CCl4
                เราทราบว่า CCl1 โมเลกุลประกอบด้วย C 1 อะตอม และ Cl 1 อะตอม นั่นคือ
                                 CCl4   1 โมล ประกอบด้วย  C 1  และ Cl  4 โมล

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎสัดส่วนคงที่


โจเซฟ เพราสต์ เป็นผู้ก่อตั้งกฏนี้ขึ้นในศตวรรษที่ 18 ใจความว่า
"อัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ๆ จะมีค่าคงที่ ไม่ว่าจะเตรียมสารประกอบนั้นกี่ครั้ง หรือ โดยวิธีการต่างกันอย่างไรก็ตาม"
ตัวอย่าง
เมื่อเผา C จำนวน 1.2 กรัม ในอากาศ ปรากฏว่าต้องใช้ออกซิเจนจำนวน 3.2 กรัม ในการทำปฏิกิริยาพอดีกับ C จำนวนนี้ เพื่อให้เกิดเป็น CO2 หมด และเมื่อนำ CO2 ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของหินปูนกับสารละลายกรดเกลือ พบว่า CO2 ที่เกิดขึ้นจำนวน 2.2 กรัม มี C อยู่ 0.6 กรัม จงแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของ CO2 เป็นไปตามกฏสัดส่วนคงที่
วิธีทำ
เมื่อเผา C ในอากาศ
อัตราส่วนโดยมวลของ C : O ใน CO2  =  1.2 : 3.2
                                                       =  3 : 8
เมื่อหินปูนทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดเกลือ
มวลของออกซิเจนใน CO2  =  2.2 - 0.6  = 1.6
อัตราส่วนโดยมวลของ C : O ใน CO2      =  0.6 : 1.6
                                                           = 3 : 8
จะเห็นว่า อัตราส่วนโดยมวลของ C : O ใน CO2 เป็นค่าคงที่เสมอ ไม่ว่าจะเตรียม CO2 โดยวิธีการใดก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามกฏสัดส่วนคงที่

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พันธะเคมี


พันธะเคมี

ชนิดของพันธะเคมี

พันธะภายในโมเลกุล
(intramolecular bond)
พันธะระหว่างโมเลกุล
(intermolecular bond)
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bonds)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bonds)
พันธะไอออนิก (ionic bonds)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces)
พันธะโลหะ ( metallic bonds)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล - ไอออน
(molecule-ion attractions)

พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 อะตอมอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีน้อยจะให้อิเลคตรอนแก่อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีมาก และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมครบ 8 (octat rule ) กลายเป็นไอออนบวก และไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น เช่น การเกิดสารประกอบ NaCl ดังภาพ
จากตัวอย่าง Na ซึ่งมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ได้ให้อิเล็กตรอนแก่ Cl ที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 จึงทำให้ Na และ Cl มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง      ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อะตอม

 อะตอมของฮีเลียม
                       ประวัติ อะตอม ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตศักราช - เดโมคริตุส นำเสนอแนวความคิดแรกเกี่ยวกับอะตอม นักปรัชญากรีก เดโมคริตุส (Democritus) และ ลุยซิปปุส (Leucippus) ได้เสนอทฤษฎีแรกเกี่ยวกับอะตอม ว่า อะตอมแต่ละอะตอมนั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน ในลักษณะเดียวกับก้อนหิน ซึ่งรูปร่างนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอะตอม 1803 - จอห์น ดัลตัน (John Dalton) - พิสูจน์ว่าอะตอมนั้นมีอยู่จริง จอห์น ดัลตัน ได้พิสูจน์ว่าสสารประกอบขึ้นจากอะตอม แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าอะตอมนั้นมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งงานของดัลตันนี้ขัดแย้งกับ ทฤษฎีของการแบ่งแยกได้อย่างไม่สิ้นสุด (infinite divisibility) ซึ่งได้กล่าวว่า สสารนั้นสามารถถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยได้เสมอ อย่างไม่สิ้นสุด 1897 - โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (Joseph John Thomson) - ค้นพบอิเล็กตรอน ความเชื่อที่ว่า อะตอม เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสาร นั้นคงอยู่จนกระทั่งได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กกว่า โดยทอมสัน นั้นเป็นผู้ค้นพบอิเล็กตรอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังสามารถแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้อีก 1898 - Marie und Pierre Curie - กัมมันตภาพรังสี 1900 - Ludwig Boltzmann - ทฤษฎีปรมาณู 1900 - Max Planck - ควอนตัม 1906 - เออร์เนสท์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) - นิวเคลียส รัทเธอร์ฟอร์ดได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอะตอมนั้นมี นิวเคลียสซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก 1913 - Niels Bohr - แบบจำลองแบบเป็นระดับชั้น 1929 - Ernest O. Lawrence - เครื่องเร่งอนุภาค ไซโคลตรอน (cyclotron) 1932 - Paul Dirac und David Anderson - แอนตี้แมทเทอร์ 1964 - Murray Gell-Mann - ควาร์ก 1995 - Eric Cornell und Carl Wieman - โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเสท 2000 - CERN - โบซอนฮิกส์ 2002 - Brookhaven - สารประหลาด อ่านเพิ่มเติม>>